ปี2491 ระหว่างเวลาที่ในหลวภูมิพล ประทับอยู่ในทวีปยุโรป ต้นเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2491 รถยนต์พระที่นั่งที่ซึ่งในหลวงภูมิพลขับด้วยพระองค์เองประสบอุบัติเหตุร้ายแรง เป็นเหตุให้ต้องเสด็จไปประทับในโรงพยาบาลเป็นเวลานานหลายวัน ข่าวอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้ผู้คนทางเมืองไทยวิตกทุกข์ร้อนกันมาก ด้วยทรงเป็นความหวังของคนไทยทั้งแผ่นดิน
ปี2492 หลังจากอาการประชวรเนื่องจากอุบัติเหตุค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ คนไทยทั้งแผ่นดินก็ได้รับทราบข่าวอันเป็นมงคลด้วยความปลื้มปิติ นั่นคือ ในหลวงภูมิพลทรงได้มีการชอบพอพระทัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาของพลเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถและท่านผู้หญิงหม่อมหลวงบัว กิติยากรฯ จนในที่สุดก็ได้ทรงมีพิธีหมั้นกัน ในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2492
ปี2493 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493 ในหลวงภูมิพล ก็ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า(ย่าของในหลวงภูมิพล) ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และในวันเดียวกันนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ตามขัตติยราชประเพณี
ปี2493 ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ในหลวงภูมิพล ก็ได้ทรงรับการบรมราชาภิเษกตามธรรมเนียมอันมีมาในสยามประเทศ
และวันนั้นเอง ณ ท่ามกลางมหาสมาคมในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในหลวงภูมิพล ก็ทรงได้หลั่งพระเต้าทักษิโณทกตั้งสัตยาธิษฐาน และ ประกาศพระปฐมบรมราชโองการว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ปี2493 ในตอนท้ายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็ได้มีพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระวิมานที่ประทับของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์แต่อดีต โดยทั้ง 2 พระองค์ ประทับแรมคืน ณ พระที่นั่งแห่งนั้นเป็นสิริมงคลแห่งรัชกาล 1 ราตรี แล้วจึงเสด็จไปประทับยังพระราชวังดุสิตตามปกติ
ปี2494 หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ในหลวงภูมิพล และพระราชินี ก็ได้เสด็จกลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อรักษาอาการประชวรพระเนตรอันเนื่องจากอุบัติเหตุเมื่อครั้งก่อน
และในวันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2494 ก็ได้ทรงมีพระประสูติกาลของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกในรัชกาล คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดีฯ หลังจากพระประสูติกาลแล้วไม่นาน ทั้ง 3 พระองค์ก็เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมกัน ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของข้าแผ่นดินทั้งปวง
ปี2495 ในวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 หน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยก็ได้จารึกว่าสมเด็จเจ้าฟ้าราชกุมาร ได้เสด็จพระราชสมภพมาสู่ชาติไทยเรา หลังจากที่เมืองไทยว่างเว้นการมี “เจ้าฟ้าชาย” มาเป็นเวลาหลายสิบปี วันนั้นดอกสายน้ำผึ้งที่พระที่นั่งอัมพรสถานออกดอกงามสะพรั่ง รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ด้วยความปราโมทย์รื่นเริง เช่นเดียวกับหัวใจของคนไทยนับล้านดวง
ปี2498 ต่อมากลางฤดูร้อนของวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2498 พระราชินีท่านก็ทรงได้มีประประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร เทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลยโสภาคย์ ผู้ทรงเป็นพระปิยชาติที่รักยิ่งของคนไทยในทุกวันนี้
ปี2499 ปลายปีพุทธศักราช 2499 ในหลวงภุมิพล ก็ได้ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี(ออกบวช) โดยเสด็จออกทรงผนวชในพระพุทธศาสนา มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ เสด็จประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทุกวันเวลาเสด็จลงทำวัตร มหาชนจากทุกสารทิศหลั่งไหลมาเฝ้าชมพระบารมี
ปี2500 ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พุทธศักราช 2500 หลังเสร็จพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ในหลวงภูมิพล ก็ได้ทรงรีบเสด็จกลับไปยังพระที่นั่งอัมพรสถาน เพราะในวันนั้น พระราชินีได้ทรงมีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์น้อยในรัชกาลปัจจุบัน
พระบรมฉายาลักษณ์นี้ ฉายเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระชนมายุ
ราว 3 พรรษา
ปี2501 พระราชกิจเรื่องหนึ่งที่ในหลวงภูมิพลและพระราชินี ได้ทรงถือเป็นเรื่องสำคัญใหญ่หลวง นั้นคือ การเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรและเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรด้วยพระองค์เอง อันเป็นต้นเค้าหรือที่มาของโครงการตามพระราชดำริในภายหลัง
พระบรมฉายาลักษณ์นี้ฉายเมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรตามจังหวัดในภาคเหนือ
ของประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2501
ปี2502 ในปีนี้ในหลวงภูมิพล ได้ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล เริ่มจากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และพม่า ตามลำดับ
โดยที่ประเทศพม่าได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง..ด้วย
ปี2503 ปีพุทธศักราช 2503 เป็นสมัยที่พระเกียรติยศได้เผยแผ่ไปในนานาประเทศ เพราะได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยในหลวงภูมิพล ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสในที่ประชุมสภาครองเกรส ซึ่งพระราชดำรัสที่พระราชทานวันนั้น ชนะใจผู้ฟังไม่มีเว้นตัว
ปี2504 ในหลวงภูมิพล ได้ทรงสนพระทัยเป็นที่ยิ่งในงานด้านเกษตรกรรม เพราะทรงเห็นว่าเป็นอาชีพหลักของราษฎรทั้งประเทศ จึงได้ทรงทดลองริเริ่มการเกษตรแผ่นใหม่ขึ้นในเขตพระราชฐานที่ประทับ คือ บริเวณพระตำหนักจิตรลดาก่อนเป็นแห่งแรก แล้วจึงขยายผลเป็นโครงการพัฒนาต่าง ๆ ในภายหลัง
ปี2505 ต้นปีพุทธศักราช 2505 สมเด็จพระเจ้าเฟเดอริค พระราชธิบดีแห่งกรุงเดนมาร์ก เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย ปลายปีเดียวกัน ก็เกิดมหาวาตภัยร้ายแรงขึ้นที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช มีผู้คนต้องเสียชีวิตจำนวนนับร้อย ทรัพย์สินเงินทองเสียหายมากจนประมาณมิได้ ในหลวงภูมิพลก็ได้ทรงให้การช่วยเหลือประชาชน นับแต่วินาทีแรกที่เกิดเหตุ และภายหลังก็ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นการถาวร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น