วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ในหลวงภูมิพลกับความกตัญญูที่มีต่อพระชนนี

     
     ภาพนี้ถือเป็นภาพที่ชินตาของคนไทยทุกคน เป็นภาพครั้งที่เมื่อสมเด็จฯย่าท่านยังคงมีชีวิติอยู่ เมื่อสมเด็จฯย่าเสด็จไปในที่ต่างๆ เราก็จะเห็นในหลวงภูมิพลท่านจะทรงเดินประคองไปตลอดทาง แม้ว่าจะมีทั้งทหารคนสนิท องค์รักษ์ พยาบาล ที่จะคอยประคองสมเด็จฯย่าอยู่แล้วก็ตาม แต่สำหรับในหลวงภูมิพลแล้วท่านกลับไม่ยินดีที่จะให้ผู้อื่นทำเช่นนั้น โดยในหลวงภูมิพลท่านมักจะตรัสว่า
"ไม่ต้อง คนนี้แม่เรา เราประคองเอง
ตอนเล็กๆแม่ประคองเรา สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน 
เฉพาะฉะนั้น ตอนนี้แม่แก่แล้ว เราต้องประคองแม่เดิน
เพื่อเทิดพระคุณท่าน....ไม่ต้องอายใคร"


     ภาพที่ในหลวงภูมิพลทรงประคองสมเด็จฯย่า ถือเป็นภาพที่ประทับใจและเป็นที่ชื่นชมในพระจริยวัตรอย่างยิ่งของผู้ที่พบเห็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณธรรมสูงสุดของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของแผ่นดิน ที่ท่านได้แสดงออกถึงความกตัญญูที่มีต่อผู้ให้กำเนิด
     ภายหลังที่งานพระบรมศพของสมเด็จฯย่าเสร็จสิ้นลงแล้ว ราชเลขาของสมเด็จฯย่า ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ต่อหน้าสื่อมวลชนถึงความกตัญญูกตเวทีของในหลวงภูมิพลว่า
"ในตอนนั้นพระองค์(สมเด็จฯย่า)มีอายุ93ปีแล้ว
ในหลวงภูมิพลท่านทรงเสด็จฯจากวังสวนจิตรฯมายังวังสระปทุมตอนเย็นทุกวัน
เพื่อมากินข้าวกับแม่ คุยกับแม่ ทำให้แม่ชุ่มชื่นหัวใจ"


    โดยในหลวงภูมิพลท่านจะทรงไปกินข้าวมื้อเย็นกับสมเด็จฯย่าถึงสัปดาห์ละ5วั้น นั้นคือแม้ว่าในหลวงภูมิพลท่านจะทรงประทับอยู่คนละที่กับสมเด็จฯย่า(ในหลวงอยู่วังสวนจิตรฯ สมเด็จฯย่าอยู่วังสระปทุม)แต่ในหลวงภูมิพลท่านก็ยังคอยให้ความรักและเอาใจใส่ต่อสมเด็จฯย่าอยู่ตลอดเวลา(คือให้ทั้งความรักและความอุ่นใจอยู่เสมอ) โดยหลังจากที่กินข้าวเสร็จแล้วในหลวงภูมิพลท่านก็จะทรงนั่งคุยกับสมเด็จฯย่า และก็มักจะตรัสว่า
"..แม่เคยสอนอะไรที่สำคัญๆ อยากฟังแม่สอนอีก.."


     ในขณะที่สมเด็จฯย่าป่วยหนักอยู่ที่ศิริราช ในหลวงภูมิพลท่านก็จะทรงไปเยี่ยมตอนตี1เกือบตี2ทุกคืน(เหตุผลเพราะท่านไม่อยากให้ราษฎรของท่านต้องเดือดร้อนจากรถติดกระบวนเสด็จฯของท่าน ท่านจึงได้เลือกใช้เวลานี้) ในหลวงภูมิพลท่านจะทรงอยู่จนถึงเวลาประมาณตี4กว่าๆจึงจะเสด็จฯกลับ
    มีอยู่ครั้งหนึ่งในหลวงภูมิพลท่านก็ป่วย สมเด็จฯย่าก็ป่วย โดยอยู่กันคนละมุมตึกของศิริราช ตอนเช้าเมื่อท่านเปิดประตูห้อง และเห็นพยาบาลกำลังเข็ญรถที่สมเด็จฯย่านั่งอยู่เพื่อออกมารับลม โดยผ่านทางหน้าห้องของท่านพอดี เมื่อในหลวงภูมิพลท่านทรงเห็น ท่านก็ออกมาจากห้องแย่งพยาบาลเข็ญรถให้สมเด็จฯย่า แม้พวกมหาดเล็กจะได้กราบทูลว่า ไม่เป็นไรไม่ต้องเข็ญเพราะมีพยาบาลเข็ญให้อยู่แล้ว
     ในหลวงภูมิพลท่านก็ตรัสว่า
"..นี่แม่ของเรา ทำไมต้องให้คนอื่นเข็ญ เราเข็ญเองได้.."


     และครั้งสุดท้าย ก็คือวันที่สมเด็จฯย่าสวรรคต ในวันนั้นในหลวงภูมิพลท่านได้อยู่เฝ้าสมเด็จฯย่าจนถึงตี5 โดยที่พระองค์ได้จับมือของสมเด็จฯย่า กอดสมเด็จฯย่า และปรนนิบัติอย่างนั้นอยู่ทั้งคืน จนกระทั่งสมเด็จฯย่าหลับไป ในหลวงภูมิพลท่านจึงเสด็จฯกลับ
     พอถึงวันต่อมาก็ได้มีโทรศัพท์แจ้งพระองค์ว่า สมเด็จฯย่าสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์ก็ทรงรีบเสด็จฯไปศิริราชในทันที เมื่อท่านได้ทรงเห็นสมเด็จฯย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง ท่านก็ทรงคุกเข่าก้มลงกราบที่หน้าอกของสมเด็จฯย่า แนบหน้าตรงกับหัวใจของแม่เพื่อหอมหัวใจของแม่เป็นครั้งสุดท้าย แล้วพระองค์ก็ทรงซบหน้านิ่งอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน....


   

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

คำที่พ่อสอน (ตอนที่1)

     
     ในหลวงภูมิพลท่านได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก โดยดูได้จากแนวความคิดในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ท่านได้ทรงพระราชทานผ่านพระบรมราโชวาทหรือพระราชดำรัสในโอกาสต่างๆ ที่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยที่มีต่อเด็กและเยาวชน
     ด้วยเหตุนี้จึงอยากนำเอาสาระของพระบรมราโชวาท(เพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง จากทั้งหมดที่เยอะมากของพระองค์ท่าน)มาเป็นหลักในการให้ข้อคิดและแนวทางปฎิบัติสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อช่วยบ่มเพาะปลูกฝังความมีคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้น หล่อหลอมเค้าเหล่านั้นให้เติบโตมาเป็นคนดีที่มีคุณธรรมของสังคมและประเทศชาติ
 
"..เด็กเป็นผู้ที่จะรับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ ดั้งนั้น เด็กทุกคนจึงควรและจำเป็นจะต้องได้รับการอบรม เลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้มีศรัทธามั้นคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อย สุจริต และมีสติปัญญาฉลาดแจ่มใสในเหตุผล.."
(ความตอนหนึ่ง)ในพระราชดำรัสที่พระราชทาน ในโอกาสปีเด็กสากล 
วันที่1มกราคม พ.ศ.2522 

คำสอนที่สอนให้ลูกรักในการอ่าน
"..หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา ตั้งแต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ คล้ายๆกับการออมสิน และเป็นธนาคารความรู้ เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้ 
โดยแท้.."
(ความตอนหนึ่ง)ในพระบรมราโชวาท ที่พระทานให้แก่คณะสมาชิกห้องสมุด
ทั่วประเทศ ในตอนที่เข้าเฝ้าฯ ณ.ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา 
วันที่25 พฤษภาคม พ.ศ.2514

"..การอ่านจะช่วยส่งเสริมทั้งด้านการคิด การวิเคราะห์ การประมวลผล การใช้ทฤษฎีให้เกิดผลในทางปฎิบัติ และยังจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีในสังคมในทุกระดับ ไปจนถึงสังคมโลก ซึ่งจะส่งผลให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข.."
(ความตอนหนึ่ง)ในพระราชดำรัส ในคราวเสด็จฯไปเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ครั้งที่33 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่3 ณ.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่25 มีนาคม พ.ศ.2548

คำสอนที่สอนให้ลูกรู้จักฝึกการสังเกต
"ในวัยเด็ก คนเราจะมีความว่องไวทางสมองสูง สามารถรับทราบและจดจำได้รวดเร็ว ถ้าพยายามเล่าเรียนวิชาความรู้ พยายามสังเกตพิจารณาสิ่งต่างๆ พยายามฝึกหัดตนให้มีเหตุและผล มีระเบียบ มีความดี ก็จะติดเป็นนิสัย และสามารถนำออกมาใช้ได้โดยถูกต้อง ช่วยให้เกิดความสุข ความสำเร็จ และความรุ่งเรืองแก่ตนเองได้อย่างแน่นอนในวันข้างหน้า"
พระบรมราโชวาท สำหรับพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ"วันเด็ก"ปี2517
พระตำหนักจิตรดารโหฐาน
วันที่1 ตุลาคม พ.ศ.2516

คำสอนที่สอนให้ลูกรู้จักใฝ่รู้
"เด็กควรขวนขวายหาวิชา พร้อมทั้งฝึกความเป็นระเบียบ รู้เหตุ รู้ผลให้แก่ตัว เพราะวิชาและความเป็นระเบียบนั้น จะช่วยให้คิดถูก ทำถูก พูดถูก จะทำให้เป็นคนที่มีอิสรภาพแท้ อย่างเต็มเปี่ยมในวันข้างหน้า"
พระบรมราโชวาท สำหรับพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ"วันเด็ก"ปี2518
พระตำหนักจิตรดารโหฐาน
วันที่12 ธันวาคม พ.ศ.2517


คำสอนที่สอนให้ลูกรู้จักวินัย
"เด็กๆทำอะไรต้องหัดรู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนที่มีระเบียบ และคนที่มีระเบียบแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว เป้นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญให้แก่ตนเอง และแก่ส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน"
พระบรมราโชวาท สำหรับพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ"วันเด็ก"ปี2521
พระตำหนักจิตรดารโหฐาน
วันที่12 ธันวาคม พ.ศ.2520


ในหลวงภูมิพลกับพระสหายแห่งสายบุรี(วาเด็งปูเต๊ะ)



    ประวัติ:วาเด็งปูเต๊ะ หรือ "เป๊าะเด็ง" หรือที่รู้จักกันในนาม "พระสหายสายบุรี"

ต้องย้อนไปเมื่อวันที่30 กันยายน 2535 เมื่อในหลวงภูมิพล ได้เสด็จไปดูโครงการพัฒนาพรุแฆ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ที่จึงทำให้เป๊าะเด็งและพสกนิกรในพื้นที่แถบนั้นทุกคนได้พ้นจากความทุกข์ยากในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  

     นอกจากการทูลเกล้าฯ ถวายข้อมูลในพื้นที่แล้ว เป๊าะเด็งก็ได้ถวายที่ดินผืนหนึ่งเพื่อให้ในหลวงได้ทำโครงการพระราชดำริ จึงทำให้เป๊าะเด็งได้กลายมาเป็น "พระสหาย" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นเกียรติยศสูงสุดในชีวิตที่น้อยคนจะได้รับ

     เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่งเป๊าะอยู่บ้านทำสวนอยู่กับภรรยา ก็ได้มีคุณหญิงคนหนึ่งมาบอกว่า "ในหลวงภูมิพล"ต้องการพบตัว แต่ภรรยาของเป๊าะเด็งไม่กล้าไปพบ จนกระทั่งเป๊าะเลี้ยงโคกลับมา ก็มีตำรวจมาตามเป็นครั้งที่สอง เป๊าะตกใจมากว่าตำรวจมาตามเรื่องอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด จนกระทั่งสื่อสารกันเข้าใจว่าในหลวงภูมิพล ต้องการมาสร้างฝายกั้นน้ำคลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จ ต.แป้น อ.สายบุรี เพื่อช่วยเหลือเรื่องแหล่งน้ำแก่ชาวบ้านในการทำการเกษตร เป๊าะ ถึงกล้าไปพบ   
     แต่ตอนนั้นเป๊าะ ยังไม่ค่อยเชื่อว่าพระองค์จะเข้ามาอยู่ในป่าในเขาแบบนี้ จึงคิดว่าคนที่มาบอกโกหก ขนาดมาพบพระองค์แล้วเป๊าะ ก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นในหลวงจริงหรือเปล่าจึงแอบหยิบเงินใบละ 100 ใบ กับใบละ 20 บาทขึ้นมาดู

จึงแน่ใจว่าเป็นพระองค์เสด็จฯ มาจริงๆ  
     ตอนแรกที่พบในหลวงภูมิพล เป๊าะไม่กล้าเข้าไปใกล้ๆ เพราะตอนนั้นนุ่งโสร่งตัวเดียว

เสื้อก็ไม่ได้ใส่ด้วย แต่พอเข้าไปใกล้ๆ ในหลวงก็ตรัสเป็นภาษามลายูว่า "จะสร้างคลองชลประทานให้"

     หลังจากนั้นในหลวงท่านก็ทรงสอบถามเส้นทางการขุดคลอง และข้อมูลในพื้นที่อื่นๆ พระองค์ยังตรัสชมว่า "วาเด็งเป็นคนรู้พื้นที่จริง"

     วันรุ่งขึ้น ข้าราชการที่มารับเสด็จก็ต้องตกตะลึงไปตามๆกัน เมื่่อพระองค์ทรงรับสั่งให้เป๊าะพายเรือให้พระองค์เพื่อทำการสำรวจคลองสายทุ่งเค็จ โดยพระองค์มีพระราชดำรัสถาม พร้อมเปิดแผนที่เพื่อให้รู้ว่าจะสร้างแหล่งชลประทานอย่างไร ตอนพายเรืออยู่ ในหลวงภูมิพลตรัสด้วยว่า "ให้วาเด็งทำตัวให้สบายมีอะไรที่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ให้เล่ามาตามความจริง"  
     จากนั้นในหลวงภูมิพลคงจะทรงลองใจเป๊าะจึงตรัสถามขอที่ดินเพื่อทำโครงการพระราชดำริ ด้วยความปลาบปลื้มเป๊าะจึงขอยกที่ดินถวายให้พระองค์ทันที ในหลวงจึงแย้มพระสรวล และมีพระราชดำรัสว่าให้เป๊าะเป็น"พระสหาย" ตั้งแต่บัดนั้น   
     ในหลวงภูมิพลตรัสเรื่องนี้ว่า"วาเด็งเป็นคนซื่อตรง จึงขอแต่งตั้งให้วาเด็งเป็นเพื่อนของในหลวง"พร้อมทรงชวนให้เป๊าะและภรรยาเดินทางไปเที่ยวที่กรุงเทพฯ และเมื่อพระองค์เสด็จฯ มาสามจังหวัดก็เรียกให้เข้าเฝ้าที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ทุกครั้ง 
  
     ต่อมาในหลวงทรงสงสารจึงมอบเงินให้เป๊าะครั้งละหลายหมื่นบาท หากไม่ได้เสด็จฯ มาก็ทรงฝากเงินมากับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แทบทุกครั้ง   
     โดยล่าสุด ในหลวงภูมิพลตรัสว่าให้วาเด็งหยุดทำงานได้แล้ว เพราะแก่แล้ว อายุมากแล้ว

ทรงเป็นห่วงสุขภาพวาเด็ง กลัวว่าทำงานหนักจะไม่สบาย เป๊าะก็นั่งทบทวนคำตรัสของพระองค์ด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มด้วยความภาคภูมิกับคำว่า "พระสหายแห่งสายบุรี"

      นอกจากละหมาดขอพระผู้เป็นเจ้าเป๊าะยังเดินทางจาก จ.นราธิวาส มาเยี่ยมพระอาการประชวรของในหลวงถึง รพ.ศิริราช ด้วย


      เป๊าะเด็งถือเป็น "แบบอย่าง" ของคนที่ซื่อสัตย์ เจียมเนื้อเจียมตัวและใช้จ่ายอย่างประหยัด เพราะต้องการทำตัวให้เป็นแบบอย่างตามพระราชดำรัสของในหลวงภูมิพลที่รู้จักกินรู้จักใช้ตามวิถีทางชุมชนชนบทกับเศรษฐกิจพอเพียงของชาวบ้านจนถึงทุกวันนี้



       และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ดีใจและปลาบปลื้มใจมากที่สุด คือ

พระสหายแห่งสายบุรีได้มีโอกาสเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งในฐานะ "พระสหายแห่งสายบุรี" และ "ตัวแทนพี่น้องมุสลิม"

ในสามจังหวัดชายแดนใต้ทุกๆคน












ในหลวงภูมิพลกับชาวมุสลิม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด
รู้ผิดชอบชั่วดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และนับเป็นบุคคลที่มีคุณค่า ถ้าแต่ละคนจะพยายามศึกษาพระคัมภีร์ให้เข้าใจถ่องแท้ยิ่งขึ้น พร้อมกับเอาใจใส่วิทยาการด้านอื่นๆให้กว้างขวางและก้าวหน้าอยู่เสมอ ก็จะส่งเสริมให้เป็นผู้มีความดี มีความรู้ความสามารถครบถ้วนสมควรยิ่งที่จะเป็นหลักและเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”
    โดยในปี2498(คราวที่ในหลวงภูมิพลเสด็จเยี่ยมราษฎรตามภาคต่างๆ หลังจากราชาภิเษก) เมื่อเสด็จมายังจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ซึ่งมีชาวไทยมุสลิมอยู่ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการมัสยิด และราษฎรชาวไทยมุสลิม ต่างก็จะรอรับเสด็จแม้ว่าจะมีฝนตก ทุกคนต่างก็เต็มใจที่จะรอรับเสด็จพระองค์....."จนในหลวงภูมิพลท่านทราบว่ามีราษฎรต้องยืนตากฝนรอรับเสด็จพระองค์อยู่ พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พวกเค้าเหล่านั้นเข้าไปหลบฝนก่อนที่คณะเสด็จจะเสด็จผ่าน"....
     และเนื่องจากชาวไทยมุสลิมภาคใต้ยังคงใช้ภาษาท้องถิ่นกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อในหลวงภูมิพลท่านทรงรับสั่งถามถึงทุกข์สุขและการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าที่จะถวายคำตอบเนื่องจากเกรงว่าจะพูดโดยใช้ภาษาไม่เหมาะสม พวกเขาได้แต่ยิ้มด้วยความดีใจ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงจึงทรงรับสั่งให้ใช้ภาษาท้องถิ่นธรรมดาสามัญไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ แล้วจะมีผู้แปลความถวายให้ 
     เพื่อพระองค์จะได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่โดยแท้จริง หากไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ก็ให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี(ขณะนั้น) เป็นผู้ถวายการแปลจากภาษาท้องถิ่น 
     ในหลวงภูมิพลท่านทรงมีความชื่นชมโสมนัสอย่างมากที่พสกนิกรของพระองค์ถวายการต้อนรับอย่างอบอุ่น ขณะที่ผ่านแถวรับเสด็จฯของประชาชนก็จะทรงทราบว่า แม้ฝนจะตก ประชาชนก็ไม่แตกแถว แน่วแน่ที่จะยืนกร่ำตากฝนรอรับเสด็จฯ จนกว่าจะมีรับสั่งให้หลบฝนได้
     ในหลวงภูมิพลท่านได้ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดชายแดนทางภาคใต้หลายครั้ง โดยมักจะเสด็จแปรพระราชฐานประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม(ขอทุกปี)
     โดยบางปีจะอยู่ระหว่างการถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม ซึ่งตรงกับเดือนที่ 9 ของศักราชอิสลาม และมีระยะเวลาเลื่อนขึ้นปีละ ประมาณ 10 วัน ดังเช่นเมื่อปี2520 เดือนรอมฏอนตรงกับเดือนสิงหาคม วันตรุษอีติ้ลฟิตริ จึงตรงกับต้นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ในหลวงภูมิพลท่านได้ทรงเสด็จฯแปรพระราชฐาน ประทับที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์จังหวัดปัตตานี เหล่าราษฎรไทยมุสลิมจึงขอพระมหากรุณาธิคุณเข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมลคล เนื่องในวโรกาสสำคัญดังกล่าว ในหลวงภูมิพลก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า และมีพระราชดำรัสขอบใจ ทรงมีพระกระแสในเรื่องการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน เป็นที่ประทับใจกับชาวไทยมุสลิมยิ่งนัก และถ้าในหลวงภูมิพลยังคงแปรพระราชฐานอยู่ในระหว่างวันตรุษอีดิ้ลอัฏฮา ซึ่งเป็นวันตรุษหลังจากผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ก็จะเข้าเฝ้าถวายพระพรเช่นเดียวกัน
     ก่อนปีพ.ศ. 2505(เป็นปีใดไม่แน่ชัด) ท่านกงสุลแห่งประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้เข้าเฝ้าถวายพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับที่มีความหมายเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อในหลวงทอดพระเนตรและทรงศึกษาดู ทรงมีความคิดว่าควรจะมีพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทย ให้ปรากฏเป็นศรีสง่าแก่ประเทศชาติ และเทียมทัศนานาอารยประเทศ

     ในหลวงภูมิพลท่านก็ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี(ขณะนั้น)แปลความหมายของอัลกุรอาน จากพระมหาคัมภีร์ฉบับภาษาอาหรับโดยตรง สิ่งนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อศาสนาอิสลาม และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปภัมภกอย่างแท้จริง


     นายต่วน สุวรรณศาสน์ อดีตจุฬาราชมนตรี ถวายงานด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสนองพระราชดำริในหลวงภูมิพล โดยลงมือแปลและเรียบเรียงความหมายภาษาไทยของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม ปี2505 จนจบบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปี2507 รวมเวลาทำงานถวายทั้งสิ้น 1 ปี 7 เดือน 8 วัน หลังจากนั้น ก็เป็นการขัดเกลาสำนวนภาษาให้กระชับและเหมาะสม ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในแต่ละวรรคแต่ละตอน ในระหว่างที่จุฬาราชมนตรีกำลังแปลพระคัมภีร์ถวาย โดยทุกครั้งที่เข้าเฝ้า ในหลวงภุมิพลท่านก็จะทรงแสดงความสนใจ ตรัสถามถึงความคืบหน้าอุปสรรคปัญหาด้วยความเป็นห่วง และพระองค์ก็มีความต้องการที่จะให้พิมพ์ออกเผยแพร่อีกด้วย

     โดยในปี2511 ซึ่งเป็นปีครบ 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอาน ประเทศมุสลิมทุกประเทศต่างก็จัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างสมเกียรติ ประเทศไทยเราแม้จะไม่ใช่ประเทศมุสลิม ก็ได้จัดงานเฉลิมฉลอง 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทยฉบับแรก โดยได้พิมพ์ถวายตามพระราชดำริในหลวงภูมิพล ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่มัสยิดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
       ในหลวงภูมิพลท่นได้ทรงมีพระราชดำรัสในงานเฉลิมฉลอง 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอานว่า... 

..."คัมภีร์อัลกุรอาน มิใช่จะเป็นคัมภีร์ที่สำคัญในศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ยังเป็นวรรณกรรมสำคัญของโลกเล่มหนึ่ง ซึ่งมหาชนรู้จักยกย่องและได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ อย่างแพร่หลายแล้วด้วยการที่ท่านทั้งหลายได้ดำเนินการแปลออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยครั้งนี้เป็นการสมควรชอบด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นการช่วยเหลือในอิสลามิกบริษัทในประเทศไทยที่ไม่รู้ภาษาอาหรับ ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะในศาสนาได้สะดวก และแพร่หลาย ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา ทำความเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างถูกต้องและกว่างขวางยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่า คัมภีร์อัลกุรอาน มีอรรถรสลึกซึ้ง การที่จะแปลออกเป็นภาษาไทย โดยพยายามรักษาใจความแห่งคัมภีร์เดิมไว้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ และพิมพ์ขึ้นให้แพร่หลายเช่นนี้ จึงเป็นที่ควรอนุโมทนาสรรเสริญและร่วมมือสนับสนุนอย่างยิ่ง…"



ต่อมาในปี2507ในหลวงภูมิพล ก็ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทรงรับคำกราบทูลเชิญของนายต่วน สุวรรณศาสน์ เสด็จฯพระราชดำเนินในงานเมาลิดกลางหรืองานเฉลิมฉลองคล้ายวันประสูติของท่านศาสดามูฮำหมัด ณ ลุมพินีสถาน ครั้งนี้ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่ง 

..."ท่านนบีมูฮำหมัด ผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม เป็นมหาบุรุษคนหนึ่ง ได้ทำคุณประโยชน์แก่โลก พระศาสดาสรรเสริญยกย่องความฉลาด ความไตร่ตรองรอบคอบและความบริสุทธิ์ ทั้งกายและใจว่าเป็นหลักสำคัญของชีวิต ฉะนั้นขอให้พสกนิกรทุกคน จงพยายามปฏิบัติตามคำสั่งสอน เพื่อจะได้ประสบความสุข ความเจริญ"...
     จากการเสด็จฯไปในงานเมาลิดกลาง และการพระราชทานพระราชดำรัส ทำให้พสกนิกรชาวไทยมุสลิม และศาสนิกอื่น ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลาม ทั้งยังเป็นจุดเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างศาสนา ไม่มีการดูถูกเหยียดหยาม ต่างให้เกียรติซึ่งกันและกันมากขึ้นภาพที่ประทับใจยิ่ง และไม่อาจลืมเลือนได้ ก็คือสายตานับพันนับหมื่นคู่ที่เฝ้ามองไปยังในหลวงภูมิพลขณะที่ประทับเป็นองค์ประทานในพิธีเมาลิดกลาง ในระหว่างที่อ่านประวัติพระศาสดา และสดุดีพระศาสดามูฮำหมัดนั้นในหลวงภูมิพลท่านได้ทรงประทับยืนเพื่อเป็นเกียรติแต่พระศาสดา ซึ่งกล่าวได้ว่าในหลวงภูมิพล ทรงเป็นตัวอย่างแก่ชนต่างศาสนาและเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
     จากนั้นในหลวงภูมิพลก็ทรงเสด็จฯเป็นประธานในพิธีเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน พร้อมด้วยพระราชินี และหลังจากนั้นก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ผู้แทนพระองค์เสด็จฯในงานเมาลิดกลางจนถึงทุกวันนี้

 "ในหลวงภูมิพล ทรงมีพระราชกรุณาธิคุณต่อพระสกนิกรณ์ชาวมุสลิมมาล้นพรรณาทรงเป็นองค์ราชศาสนูปถัมภ์ ทรงสร้างทักษินราชนิเวศน์ เพื่อความใกล้ชิดต่อชาวไทยมุสลิม ทรงมีพระบรมราชโองการให้ อดีตจุฬาราชมนตรี นายต่วน สุวรรณศาสน์ แปลพระมหาคัมภรีภรีอัลกุรอ่านเป็นภาษาไทย โดยเน้นให้แปลจากฉบับเป็นภาษาอาหรับ ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนของพระองค์โดยทั่วถึง ทรงมีความเข้าใจต่อปัญหาต่างๆ ทั้งประเทศทรงเสียสละพระราชทรัพย์ทั้งแรงกาย โดยไม่เห็นถึงความเหนื่อยยากไปทั่วแผ่นดินไทย พระองค์จึงทรงสถิตดังในดวงใจของคนไทยทั้งล้า"

















ที่มา:ขอบคุณข้อมูลจากกลุ่มมุสลิมไทย ไซเบอร์เน็ท 











วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ในหลวงภูมิพลกับเหล่าอริยะสงฆ์

พระราชดำรัสในโอกาสเสด็จออกทรงผนวช
๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙
"โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้าเองก็เป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจัดเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมด้วย และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช ก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำตามความตั้งใจไว้นั้นแล้วอีกประการหนึ่ง อนึ่ง การที่องค์สมเด็จพระสังฆราชหายประชวรมาได้ ในคราวประชวรครั้งหลังนี้ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่ข้าพเจ้ายิ่งนัก ได้มาคำนึงว่า ถ้าในการอุปสมบทของข้าพเจ้า ได้มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ก็จักเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธาเคารพในพระองค์ท่านของข้าพเจ้าได้อย่างเหมาะสมอีกประการหนึ่ง จึงได้ตกลงใจที่จะอุปสมบทในวันที่ ๒๒ เดือนนี้"


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างที่ทรงผนวช ๑๕ วัน




สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปรินายก


ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา(ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน


พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทธฺ)  วัดมหาธาตุฯ  กรุงเทพฯ


พระราชพรหมยานเถร(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)  วัดท่าซุง  จ.อุทัยธานี


พระอาจารย์วัน อุตฺตโม  วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม(วัดถ้ำพวง)  จ.สกลนคร


พ่อท่านคล้าย ตนฺทวณฺโณ  วัดสวนขัน  จ.นครศรีธรรมราช


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  วัดราชผาติการาม


หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโณ  วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี


หลวงปู่เทส เทสฺรงฺสี  วัดหินหมากเป้ง  จ.หนองคาย



หลวงปู่แก้ว สุวณฺโชโต  วัดสุทธิตวราราม  จ.สมุทรสาคร


หลวงปู่แก้ว สุวณฺโชโต  วัดสุทธิตวราราม  จ.สมุทรสาคร


หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ  วัดประตู่ฉิมพลี  กรุงเทพฯ


หลวงปู่ขาว อนาลโย  วัดถ้ำกองเพล  จ.หนองบัวลำภู


หลวงปู่ครูบาพรหมจักร พรฺหมฺจกฺโก  วัดพระพุทธบาทตากผ้า  จ.ลำพูน


หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปญฺโญ  วัดมหาชัย  จ.นครพนม


หลวงปู่ชอบ ฐานสโน  วัดป่าสัมมานุสรณ์  จ.เลย


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล  วัดบูรพาราม  จ.สุรินทร์


หลวงปู่นำ ชินวงฺโส  วัดดอนศาลา  จ.พัทลุง


หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตโต  วัดอุดมคงคาศีรี  จ.ขอนแก่น


หลวงปู่สิม พุทธาจาโร  วัดถ้ำผาปล่อง  จ.เชียงใหม่


หลวงพ่อเกษม เขมโก  สุสานไตรลักษณ์  จ.ลำปาง


หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ  วัดบ้านไร่  จ.นครราชสีมา


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย  วัดป่าสาลวัน  จ.นครราชสีมา


หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมรมฺโภ  วัดวังก์วิเวการาม  จ.กาญจนบุรี