วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ในหลวงภูมิพลกับชาวมุสลิม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด
รู้ผิดชอบชั่วดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และนับเป็นบุคคลที่มีคุณค่า ถ้าแต่ละคนจะพยายามศึกษาพระคัมภีร์ให้เข้าใจถ่องแท้ยิ่งขึ้น พร้อมกับเอาใจใส่วิทยาการด้านอื่นๆให้กว้างขวางและก้าวหน้าอยู่เสมอ ก็จะส่งเสริมให้เป็นผู้มีความดี มีความรู้ความสามารถครบถ้วนสมควรยิ่งที่จะเป็นหลักและเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”
    โดยในปี2498(คราวที่ในหลวงภูมิพลเสด็จเยี่ยมราษฎรตามภาคต่างๆ หลังจากราชาภิเษก) เมื่อเสด็จมายังจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ซึ่งมีชาวไทยมุสลิมอยู่ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการมัสยิด และราษฎรชาวไทยมุสลิม ต่างก็จะรอรับเสด็จแม้ว่าจะมีฝนตก ทุกคนต่างก็เต็มใจที่จะรอรับเสด็จพระองค์....."จนในหลวงภูมิพลท่านทราบว่ามีราษฎรต้องยืนตากฝนรอรับเสด็จพระองค์อยู่ พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พวกเค้าเหล่านั้นเข้าไปหลบฝนก่อนที่คณะเสด็จจะเสด็จผ่าน"....
     และเนื่องจากชาวไทยมุสลิมภาคใต้ยังคงใช้ภาษาท้องถิ่นกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อในหลวงภูมิพลท่านทรงรับสั่งถามถึงทุกข์สุขและการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าที่จะถวายคำตอบเนื่องจากเกรงว่าจะพูดโดยใช้ภาษาไม่เหมาะสม พวกเขาได้แต่ยิ้มด้วยความดีใจ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงจึงทรงรับสั่งให้ใช้ภาษาท้องถิ่นธรรมดาสามัญไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ แล้วจะมีผู้แปลความถวายให้ 
     เพื่อพระองค์จะได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่โดยแท้จริง หากไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ก็ให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี(ขณะนั้น) เป็นผู้ถวายการแปลจากภาษาท้องถิ่น 
     ในหลวงภูมิพลท่านทรงมีความชื่นชมโสมนัสอย่างมากที่พสกนิกรของพระองค์ถวายการต้อนรับอย่างอบอุ่น ขณะที่ผ่านแถวรับเสด็จฯของประชาชนก็จะทรงทราบว่า แม้ฝนจะตก ประชาชนก็ไม่แตกแถว แน่วแน่ที่จะยืนกร่ำตากฝนรอรับเสด็จฯ จนกว่าจะมีรับสั่งให้หลบฝนได้
     ในหลวงภูมิพลท่านได้ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดชายแดนทางภาคใต้หลายครั้ง โดยมักจะเสด็จแปรพระราชฐานประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม(ขอทุกปี)
     โดยบางปีจะอยู่ระหว่างการถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม ซึ่งตรงกับเดือนที่ 9 ของศักราชอิสลาม และมีระยะเวลาเลื่อนขึ้นปีละ ประมาณ 10 วัน ดังเช่นเมื่อปี2520 เดือนรอมฏอนตรงกับเดือนสิงหาคม วันตรุษอีติ้ลฟิตริ จึงตรงกับต้นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ในหลวงภูมิพลท่านได้ทรงเสด็จฯแปรพระราชฐาน ประทับที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์จังหวัดปัตตานี เหล่าราษฎรไทยมุสลิมจึงขอพระมหากรุณาธิคุณเข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมลคล เนื่องในวโรกาสสำคัญดังกล่าว ในหลวงภูมิพลก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า และมีพระราชดำรัสขอบใจ ทรงมีพระกระแสในเรื่องการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน เป็นที่ประทับใจกับชาวไทยมุสลิมยิ่งนัก และถ้าในหลวงภูมิพลยังคงแปรพระราชฐานอยู่ในระหว่างวันตรุษอีดิ้ลอัฏฮา ซึ่งเป็นวันตรุษหลังจากผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ก็จะเข้าเฝ้าถวายพระพรเช่นเดียวกัน
     ก่อนปีพ.ศ. 2505(เป็นปีใดไม่แน่ชัด) ท่านกงสุลแห่งประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้เข้าเฝ้าถวายพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับที่มีความหมายเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อในหลวงทอดพระเนตรและทรงศึกษาดู ทรงมีความคิดว่าควรจะมีพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทย ให้ปรากฏเป็นศรีสง่าแก่ประเทศชาติ และเทียมทัศนานาอารยประเทศ

     ในหลวงภูมิพลท่านก็ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี(ขณะนั้น)แปลความหมายของอัลกุรอาน จากพระมหาคัมภีร์ฉบับภาษาอาหรับโดยตรง สิ่งนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อศาสนาอิสลาม และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปภัมภกอย่างแท้จริง


     นายต่วน สุวรรณศาสน์ อดีตจุฬาราชมนตรี ถวายงานด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสนองพระราชดำริในหลวงภูมิพล โดยลงมือแปลและเรียบเรียงความหมายภาษาไทยของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม ปี2505 จนจบบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปี2507 รวมเวลาทำงานถวายทั้งสิ้น 1 ปี 7 เดือน 8 วัน หลังจากนั้น ก็เป็นการขัดเกลาสำนวนภาษาให้กระชับและเหมาะสม ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในแต่ละวรรคแต่ละตอน ในระหว่างที่จุฬาราชมนตรีกำลังแปลพระคัมภีร์ถวาย โดยทุกครั้งที่เข้าเฝ้า ในหลวงภุมิพลท่านก็จะทรงแสดงความสนใจ ตรัสถามถึงความคืบหน้าอุปสรรคปัญหาด้วยความเป็นห่วง และพระองค์ก็มีความต้องการที่จะให้พิมพ์ออกเผยแพร่อีกด้วย

     โดยในปี2511 ซึ่งเป็นปีครบ 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอาน ประเทศมุสลิมทุกประเทศต่างก็จัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างสมเกียรติ ประเทศไทยเราแม้จะไม่ใช่ประเทศมุสลิม ก็ได้จัดงานเฉลิมฉลอง 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทยฉบับแรก โดยได้พิมพ์ถวายตามพระราชดำริในหลวงภูมิพล ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่มัสยิดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
       ในหลวงภูมิพลท่นได้ทรงมีพระราชดำรัสในงานเฉลิมฉลอง 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอานว่า... 

..."คัมภีร์อัลกุรอาน มิใช่จะเป็นคัมภีร์ที่สำคัญในศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ยังเป็นวรรณกรรมสำคัญของโลกเล่มหนึ่ง ซึ่งมหาชนรู้จักยกย่องและได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ อย่างแพร่หลายแล้วด้วยการที่ท่านทั้งหลายได้ดำเนินการแปลออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยครั้งนี้เป็นการสมควรชอบด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นการช่วยเหลือในอิสลามิกบริษัทในประเทศไทยที่ไม่รู้ภาษาอาหรับ ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะในศาสนาได้สะดวก และแพร่หลาย ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา ทำความเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างถูกต้องและกว่างขวางยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่า คัมภีร์อัลกุรอาน มีอรรถรสลึกซึ้ง การที่จะแปลออกเป็นภาษาไทย โดยพยายามรักษาใจความแห่งคัมภีร์เดิมไว้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ และพิมพ์ขึ้นให้แพร่หลายเช่นนี้ จึงเป็นที่ควรอนุโมทนาสรรเสริญและร่วมมือสนับสนุนอย่างยิ่ง…"



ต่อมาในปี2507ในหลวงภูมิพล ก็ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทรงรับคำกราบทูลเชิญของนายต่วน สุวรรณศาสน์ เสด็จฯพระราชดำเนินในงานเมาลิดกลางหรืองานเฉลิมฉลองคล้ายวันประสูติของท่านศาสดามูฮำหมัด ณ ลุมพินีสถาน ครั้งนี้ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่ง 

..."ท่านนบีมูฮำหมัด ผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม เป็นมหาบุรุษคนหนึ่ง ได้ทำคุณประโยชน์แก่โลก พระศาสดาสรรเสริญยกย่องความฉลาด ความไตร่ตรองรอบคอบและความบริสุทธิ์ ทั้งกายและใจว่าเป็นหลักสำคัญของชีวิต ฉะนั้นขอให้พสกนิกรทุกคน จงพยายามปฏิบัติตามคำสั่งสอน เพื่อจะได้ประสบความสุข ความเจริญ"...
     จากการเสด็จฯไปในงานเมาลิดกลาง และการพระราชทานพระราชดำรัส ทำให้พสกนิกรชาวไทยมุสลิม และศาสนิกอื่น ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลาม ทั้งยังเป็นจุดเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างศาสนา ไม่มีการดูถูกเหยียดหยาม ต่างให้เกียรติซึ่งกันและกันมากขึ้นภาพที่ประทับใจยิ่ง และไม่อาจลืมเลือนได้ ก็คือสายตานับพันนับหมื่นคู่ที่เฝ้ามองไปยังในหลวงภูมิพลขณะที่ประทับเป็นองค์ประทานในพิธีเมาลิดกลาง ในระหว่างที่อ่านประวัติพระศาสดา และสดุดีพระศาสดามูฮำหมัดนั้นในหลวงภูมิพลท่านได้ทรงประทับยืนเพื่อเป็นเกียรติแต่พระศาสดา ซึ่งกล่าวได้ว่าในหลวงภูมิพล ทรงเป็นตัวอย่างแก่ชนต่างศาสนาและเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
     จากนั้นในหลวงภูมิพลก็ทรงเสด็จฯเป็นประธานในพิธีเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน พร้อมด้วยพระราชินี และหลังจากนั้นก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ผู้แทนพระองค์เสด็จฯในงานเมาลิดกลางจนถึงทุกวันนี้

 "ในหลวงภูมิพล ทรงมีพระราชกรุณาธิคุณต่อพระสกนิกรณ์ชาวมุสลิมมาล้นพรรณาทรงเป็นองค์ราชศาสนูปถัมภ์ ทรงสร้างทักษินราชนิเวศน์ เพื่อความใกล้ชิดต่อชาวไทยมุสลิม ทรงมีพระบรมราชโองการให้ อดีตจุฬาราชมนตรี นายต่วน สุวรรณศาสน์ แปลพระมหาคัมภรีภรีอัลกุรอ่านเป็นภาษาไทย โดยเน้นให้แปลจากฉบับเป็นภาษาอาหรับ ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนของพระองค์โดยทั่วถึง ทรงมีความเข้าใจต่อปัญหาต่างๆ ทั้งประเทศทรงเสียสละพระราชทรัพย์ทั้งแรงกาย โดยไม่เห็นถึงความเหนื่อยยากไปทั่วแผ่นดินไทย พระองค์จึงทรงสถิตดังในดวงใจของคนไทยทั้งล้า"

















ที่มา:ขอบคุณข้อมูลจากกลุ่มมุสลิมไทย ไซเบอร์เน็ท 











1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ว่าชาติใด ศาสนาใด พระองค์เป็นดั่งร่มโพิ์ร่มไทร
    ประชากรทั่วถิ่นไทยก็มีความสุขถ้วนทั่วกัน
    ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    ตอบลบ