วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ในหลวงภูมิพล กับความทรงจำ(ตอนที่1)



      ปี2470  เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหลวงภูมิพล พระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ได้เสด็จพระราชสมภพ(เกิด) โดยในตอนนั้นไม่มีใครทราบได้ว่า พระราชกุมารพระองค์น้อยนี้ ต่อมาจะได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของสยามประเทศในอนาคต


     ปี2471  ในหลวงภูมิพล ทรงมีพระเชษฐภคินี(พี่สาว)คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช(พี่ชาย)คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล(ในหลวงรัชกาลที่8) 
     พระบรมฉายาลักษณ์ภาพนี้ ฉายเมื่อวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2471 ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอแลนด์ 


     ปี2472  เมื่อในหลวงภูมิพล อายุได้เกือบ 2 ปี ก็ได้มีเหตุสำคัญเกิดขึ้นในพระชนมชีพ คือสมเด็จฯ พระบรมราชชนก ซึ่งทรงทำงานหนักเพื่อคนอื่นมาตลอดเวลา สวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2472 คงมีแต่สมเด็จฯพระบรมราชชนนี ทรงเป็นผู้อภิบาลรักษาพระราชโอรส และพระราชธิดาทั้ง 3 พระองค์ 
พระบรมฉายาลักษณ์ภาพนี้ ฉายเมื่อวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2472 
ที่วังสระปทุมเพียง 4 วัน ก่อนหน้าวันสวรรคตของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก 


     ปี2473  ในสมัยเมื่อประทับอยู่ที่วังสระปทุมนั้น ผู้ทรงเป็นเจ้าของวังคือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ผู้ทรงเป็นพระอัยยิกา(ย่า)ของในหลวงภูมิพล โดยเจ้านายน้อย ๆ ทั้ง 3 พระองค์ ได้ทรงพำนักอยู่ในรั้ววังแห่งนั้นด้วยความสงบร่มเย็นใต้พระบารมี บางคราวได้เสด็จออกงานพิธีข้างนอกวังตามควรแก่โอกาส เช่น งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 ที่พระราชอุทยานสราญรมย์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2473 เป็นต้น


     ปี2474  ในปีนี้ในหลวงภูมิพล ได้ทรงเข้าโรงเรียนเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนอนุบาลของมิสซิสเดวีส ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กเปิดสอนกันเองที่บ้าน ในเวลานั้น พระพี่นาง ทรงเป็นนักเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 2 โรงเรียนราชินี ส่วนพระเชษฐาทรงเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนมาแตร์เดอี 


     ปี2475  ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่มิสซิสเดวีส และครอบครัวเดินทางกลับประเทศ โรงเรียนอนุบาลเล็ก ๆ ต้องปิดไป  ในหลวงภูมิพลจึงทรงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนมาแตร์เดอี 
                  แต่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอันยิ่งใหญ่กว่านั้นยังมีอีก นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2475


     ปี2476  เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปดังนั้นแล้ว สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี(ย่าของในหลวงภูมิพล) ก็ทรงเห็นว่าสภาพบ้านเมืองไม่เรียบร้อย อาจมาพัวพันกับพระราชนัดดา(หลาน)ของท่านได้ จึงโปรดให้หลานทั้ง 3 พระองค์ไปศึกษาและรักษาพระพลานามัยที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2476 


     ปี2477  เป็นปีที่นำความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงมาสู่ราชสกุลมหิดล ด้วยเหตุว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่7) ท่านได้ทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(พระเชษฐาของในหลวงภูมิพล)จึงต้องเสด็จขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ของไทยในลำดับที่ 8 ในพระมหาบรมราชจักรีวงศ์ ทำให้สถานะของในหลวงภูมิพล ในเวลานั้นจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะอยู่ในฐานะเป็นพระอนุชา(น้อง)ของพระเจ้าแผ่นดิน


     ปี2478  จนรุ่งขึ้น ในวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2478 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(รัชกาลที่8) จึงทรงได้รับสถาปนาในหลวงภูมิพล เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ซึ่งสถานะนี้ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนักสำหรับเด็กผู้ชายที่อยู่ในวัยกำลังเล่นกำลังเรียน 
                   งานหนักจึงตกอยู่ที่ สมเด็จฯพระบรมราชชนนี ที่ซึ่งต้องลำบากพระทัยเป็นที่สุด แต่ท่านก็ได้ทรงแต่ความหวังแต่เพียงว่า ขอให้ได้ทรง 
“มีโอกาสอบรมลูกให้เป็นคนดี เพื่อจะได้ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้ในภายหน้า”


     ปี2479  “พระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่8)” และ “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ(ในหลาวภูมิพล)” พระนามเรียกขานอาจจะฟังดูยิ่งใหญ่ และหรูหรามากนักสำหรับคนทั้งหลาย แต่สำหรับพระองค์ทั้ง2แล้ว ทรงเป็นพี่น้องที่รักกันมาก พระเกียรติยศที่ทรงได้รับในฐานะที่ทรงเป็นเจ้านาย มิได้เป็นอุปสรรคในการที่จะทรงสนุกสนานกันตามประสาเด็กเลย 


     ปี2480  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(ในหลวงรัชกาลที่8) ท่านทรงมีความสนใจโปรดการเล่นกีฬา และงานช่างมาตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย การที่ประทับอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ในเวลานั้น แม้จะห่างไกลจากเมืองไทย แต่ก็มีคุณอยู่มาก เพราะได้ทรงพบเห็นอะไรหลายอย่างที่เป็นประโยชน์แก่หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ในเวลาต่อมา 
                  ในปีนี้สายพระเนตรสั้นลงเป็นเหตุให้ต้องทรงฉลองพระเนตรนับแต่นั้นมา


     ปี2481  ปลายปีพุทธศักราช 2481 ราชสกุลมหิดลทั้ง 4 พระองค์ ก็ได้เสด็จกลับมาเมืองไทยชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนเฝ้าชมพระบารมี ครั้งนั้นเป็นคราวแรกที่คนไทยได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวพระองค์น้อย ๆ และพระอนุชา เสียดายแต่ว่าทรงมีเวลาอยู่ในเมืองไทยเพียงไม่กี่เดือน ก็ต้องเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อท่ามกลางความอาลัยรักและภักดีของพสกนิกรทั้งปวง


     ปี2482  เมื่อเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ได้ไม่นาน มหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้น ในเดือนกันยายน พุทธศักราช 2482 สมเด็จฯพระบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยที่จะประทับอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ต่อไป ด้วยทรงเห็นว่าเป็นประเทศที่เป็นกลาง การสงครามรบพุ่งกันคงไม่เป็นอันตรายต่อราชสกุลมหิดล


     ปี2483  ทุกปีในช่วงหยุดหน้าร้อน ในหลวงทั้ง 2 พระองค์ ก็จะทรงเสด็จประพาสตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ บางที่เขาจัดให้มีการออกกำลังกายบริหารทุกวัน มีบ่อน้ำให้ว่ายเล่น หรือได้ตีกรรเชียงในทะเลสาบบนภูเขา ซึ่งเป็นการสนุกและเหมาะแก่ความต้องการโดยแท้ 


     ปี2484  ระหว่างที่เกิดมหาสงครามขึ้นทั่วโลกนั้น ทุกพระองค์ยังคงประทับอยู่ในเมืองโลซานน์ เวลานั้นต้องทรงพบกับความลำบากเนื่องจากสงครามบ้างเช่นกัน เช่น ยามสงครามมีน้ำมันน้อยต้องหันมาทรงใช้รถจักรยานแทน


     ปี2485  ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้น รัฐบาลเช่าพระตำหนักถวายเป็นที่ประทับ เป็นบ้านขนาดใหญ่ 3 ชั้น สมเด็จฯพระบรมราชชนนี ให้ชื่อว่า พระตำหนักวิลล่าวัฒนา ซึ่ง ณ พระตำหนักแห่งนี้ ราชสกุลมหิดลได้ใช้เป็นที่ประทับ ตลอดระยะเวลาของมหาสงครามโลกครั้งนั้น


     ปี2486  พระบรมฉายาลักษณ์ภาพนี้ ในหลวงทั้ง 2 พระองค์ ทรงฉายกับนายเซอร์ราย ดาลิส พระอาจารย์ที่มาถวายสอนพิเศษที่พระตำหนัก ผู้มีหน้าที่มาเฝ้าที่พระตำหนักทุกวันเพื่อให้ทั้ง 2 พระองค์ทำการบ้าน สอนงานฝีมือช่างไม้ หรือนำเสด็จไปเที่ยวไหนต่อไหน เป็นต้น 


ปี2487 สองพระองค์ทรงศรีสวัสดิ์ คือร่มฉัตรคุ้มศิระไทยพ้นเข็ญ 
อยู่เย็นใจ ดั่งสุริย์จันทร์มิ่งขวัญเมือง....


     ปี2488  เมื่อสงครามทางเอเชียสิ้นสุดลงกลาง ปี2488 ทางรัฐบาลไทยกราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้เสด็จกลับมาเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรไทย แม้เพียงชั่วคราวก่อนที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อก็ยังดี ทั้ง4พระองค์จึงได้เสด็จกลับมายังเมืองไทย โดยเสด็จถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2488 พสกนิกรทั้งหลายที่มาเฝ้ารอรับเสด็จต่างพากันตื่นเต้นยินดีมาก เมื่อพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่8) และพระอนุชา ไม่ใช่เจ้านายน้อย ๆ น่ารักอย่างเช่นที่ได้ชมพระบารมีเมื่อคราวก่อน หากแต่ทรงพระเจริญขึ้นเป็นเจ้านายที่งดงาม ทั้งพระวรกาย และทั้งพระราชหฤทัย สมใจราษฎร 


     ปี2489  แต่เช้าของวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ก็ได้เกิดเหตุร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(ในหลวงรัชกาลที่8)ได้ทรงต้องพระแสงปืนสวรรคต 
                  ค่ำของวันนั้นรัฐสภาได้ลงมติกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ต่อ ตอนนั้นในหลวงภูมิพลทรงกังวลพระราชหฤทัยอย่างมากในการรับภาระอันหนักอึ้งครั้งนี้ เพราะตอนนั้นพระองค์มีอายุเพียง 18 ปีเท่านั้น 


     ปี2490  เมื่อเสร็จงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพตามโบราณราชประเพณีแล้ว ในหลวงภูมิพล ก็ได้ทรงเสด็จกลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ แต่คราวนี้ทรงเปลี่ยนวิชาจากวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมีความสนใจมาแต่เดิม มาทรงศึกษาทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เพื่อให้เหมาะแก่รับภาระที่จะต้องทรงเป็นพระประมุขของประเทศ



1 ความคิดเห็น: